9.07.2554
Change
9.03.2554
ฝากไฟล์ ใน Internet
8.02.2554
แผนการประชุมเตรียมสอบ Midterm วิชา Computer Programming ครั้งที่10
ทบทวนเนื้อหา(สรุป)
คำสั่ง printf
ใช้ในการแสดงข้อความที่ต้องการแสดงผ่านหน้าจอ
เช่นต้องการแสดงข้อความ
Hello how are you ?
ต้องพิมพ์
printf(" Hello how are you ? ") ;
แต่ในการแสดงผลของตัวเลขจะต้องใช้การเก็บค่าตัวแปรเข้ามาช่วยโดยที่
รหัสควบคุมรูปแบบการแสดงผลค่าของตัวแปรออกทางหน้าจอ
%d = แสดงผลค่าเลขจำนวนเต็ม มีค่า -32,768 ถึง 32767
%f = แสดงผลค่าเลขที่เป็นทศนิยม มีค่า 3.4E+ ถึง-15
%c = แสดงผลค่าตัวอักษร มีค่า -128ถึง127
%s = แสดงผลค่าอักษรและข้อความมากกว่า 1 ตัว
คำสั่งscanf
ใช้ในการรับข้อมูลโดยสามารถรับข้อมูลได้ทุกประเภท ไม่ว่าจะเป็นจำนวนเต็ม ทศนิยม อักขระ หรือข้อความ
ตัวอย่าง
main()
{
.
.
printf(" Enter x : ");
scanf("%d",&x);
.
.
}
การแสดงผลทำงาน
Enter x : (กรอกข้อมูล)
การสร้างตัวแปรสร้างโดยใช้กฎดังนี้
1. ชื่อต้องขึ้นต้นด้วยตัวอักษรหรือเครื่องหมาย _ (เส้นใต้) เครื่องหมายอื่นใช้ไม่ได้
2. ภายในชื่อไม่มีการเว้นวรรค อาจใช้เครื่องหมาย _ ขั้นระหว่างตัวอักษรให้ดูเหมือนเว้นวรรคได้
3. ถัดจาตัวแรกอาจเป็นตัวอักษร ตัวเลข หรือเครื่องหมาย _ก็ได้
4. ความยาวของชื่อไม่จํากัด แต่จะนําตัวอักษรไปเปรียบเทียบความแตกต่าง เพียง 32 ตัวแรกเท่านั้น
5. ตัวอักษรตัวเล็กและตัวอักษรตัวใหญ่ภาษาซีจะถือว่าต่างกัน หรือจะพูดว่า “ชื่อจะเป็น Case-Sensitive”
6. การตั้งชื่อควรหลีกเลี่ยงชื่อที่มีตัวแรกเป็นเครื่องหมาย _เพราะชื่อชนิดนี้มีใช้อยู่มากในการตั้งชื่อตัวแปรของโปรแกรมระบบ (System Variables) อาจจะตรงกันได้โดยไม่ได้ตั้งใจ จะทําให้โปรแกรมทํางานผิดพลาดได้
7.ชื่อ ที่ตั้งขึ้นจะต้องไม่ตรงกับคําสงวน (Reserved Words) หรือบางทีเรียกว่า Keywords เพราะคําสงวนเหล่านี้ได้ถูกใช้เป็นชื่อคําสั่งหรือชื่อของฟังก์ชันในตัวภาษา อยู่แล้ว จะได้ชื่อที่ซํ้ากันอีกไม่ได้
สร้างตัวแปร และกำหนดค่า การรับค่า
ตัวอย่าง
main()
{
int age ;
char sex;
float grade ;
age =20 ; (การกำหนดค่า)
sex = 'm' ;
printf ("Enter grade ="); (รับค่าอะไร)
scanf ("%f",&grade); (การรับค่า)
}
การตั้งสมการคำนวน
การตั้งสมการจะแตกต่างกับคณิตศาสตร์นิดหน่อยโดย
เครื่องหมาย | ความหมาย | ตัวอย่าง |
+ | บวก | 3+2 การบวกเลข 3 บวกกับ 2 ได้ผลลัพธ์คือ 5 |
- | ลบ | 3 - 2 การลบเลข 3 ลบกับ 2 ได้ผลลัพธ์คือ 1 |
* | คูณ | 2*3 การคูณเลข 3 บวกกับ 2 ได้ผลลัพธ์คือ 6 |
/ | หาร | 15/2 การหาร 15 หารกับ 2 ได้ผลลัพธ์คือ 7 |
% | หารเอาเศษ | 15%2การหารเอาเศษ 15 หารกับ 2 ได้ผลลัพธ์คือ 1 |
++ | เพิ่มค่าขึ้น 1 โดย
| b=a++; จะมีความหมายเทียบเท่ากับ 2 บรรทัดต่อไปนี้ b=a; a=a+1; b=++a; จะมีความหมายเทียบเท่ากับ 2 บรรทัดต่อไปนี้ a=a+1; b=a; |
-- | ลดค่า 1 โดย a-- จะนำค่าของ a ไปใช้ก่อน แล้วจึงลดค่าของ a ลง 1 --a จะลดค่าของ a ลง 1 ก่อน แล้วจึงนำค่าของ a ไปใช้ | b=a--; |
การสร้างfunctionมี4 รูปแบบ
1. ฟังก์ชันที่ไม่มีการคืนค่ากลับ และไม่มีการรับค่าพารามิเตอร์
void functionName (void)
{
.
ชุดคำสั่ง
.
}
2. ฟังก์ชันที่ไม่มีการคืนค่ากลับ แต่มีการรับค่าพารามิเตอร์
void functionName (พารามิเตอร์ตัวที่1,…….,พารามิเตอร์ตัวที่ n)
{
ชุดคำสั่ง
}
3. ฟังก์ชันที่มีการคืนค่ากลับ แต่ไม่มีการรับค่า
void functionName (void)
{
ชุดคำสั่ง
return ผลการทำงาน;
}
4. ฟังก์ชันที่มีการคืนค่ากลับ และมีการรับค่าพารามิเตอร์
void functionName (พารามิเตอร์ตัวที่1,…….,พารามิเตอร์ตัวที่ n)
{
ชุดคำสั่ง
return ผลการทำงาน;
}
การทำเงื่อนไข
เครื่องหมายในการเปรียบเทียบ
เครื่องหมาย | ความหมาย | ตัวอย่าง |
> | มากกว่า | a > b a มากกว่า b |
>= | มากกว่าหรือเท่ากับ | a >= b a มากกว่าหรือเท่ากับ b |
< | น้อยกว่า | a < b a น้อยกว่า b |
<= | น้อยกว่าหรือเท่ากับ | a <= b a น้อยกว่าหรือเท่ากับ b |
== | เท่ากับ | a == b a เท่ากับ b |
!= | ไม่เท่ากับ | a != b a ไม่เท่ากับ b |
เครื่องหมาย | ความหมาย | ตัวอย่าง |
&& | และ | x < 60 && x > 50 กำหนดให้ x มีค่าในช่วง 50 ถึง 60 |
|| | หรือ | x == 10 || x == 15 กำหนดให้ x มีค่าเท่ากับตัวเลข 2 ค่า คือ 10 หรือ 15 |
! | ไม่ | x = 10 !x กำหนดให้ x ไม่เท่ากับ 10 |
คำสั่งifและelse
if (การเปรียบเทียบ)
สิ่งที่ต้องการให้ทำเมื่ิอผลการเปรียบเทียบเป็นจริง
else
สิ่งที่ต้องการให้ทำเมื่ิอผลการเปรียบเทียบเป็นเท็จ
การทำซ้ำมีคำสั่ง3คำสั่ง
1. คำสั่ง for มีการกำหนดรอบที่แน่นอน
for ( เงื่อนไข )
for (count=0;count<10;count++ )
2. คำสั่ง while มีการไม่กำหนดรอบที่แน่นอน
while ( เงื่อนไข )
{
กลุ่มคำสั่งที่ต้องการทำซ้ำ
}
3. คำสั่ง do…while มีการไม่กำหนดรอบที่แน่นอนและทำคำสั่งใน{}ก่อน
do
{
กลุ่มคำสั่ง
}
while ( เงื่อนไข )
{
กลุ่มคำสั่งที่ต้องการทำซ้ำ
}
ข้อมูลจาก
คู่มือเขียนโปรแกรมCด้วยภาษาซี
ตารางมาจาก
http://www.lks.ac.th/kuanjit/c_page02.htm
แผนการประชุมเตรียมสอบ Midterm วิชา Computer Programming ครั้งที่9
เนื้อหาจากการประชุมครั้งที่ 9
1.คำสั่งbreak
2.คำสั่งcontinue
คำสั่ง break
-คำสั่ง break ถูกนำไปใช้รวมกับคำสั่งเลือกทำหรือคำสั่งวนรอบ เพื่อให้โปรแกรมหยุดการทำงานของคำสั่งแบบเลือกทำหรือวนรอบที่กำลังทำงานอยู่ ตัวอย่างการใช้งานคำสั่ง breakเช่น
โปรแกรมที่มีการใช้คำสั่งbreakซ้อนอยู่ในคำสั่งif
#include
int main ()
{
int count=0,num;
while (count <10)
{
printf("Enterr number :");
scanf("%d",&num);
if(num == 0)
{
printf("Wrong number\n");
break;
}
else
printf("Right number\n");
}
}
เมื่อสั่งรันโปรแกรม ให้ป้อนค่าหลายๆๆค่าจากนั้นให้ป้อนเลข 0 ซึ่งจะทำให้เงื่อนไขของคำสั่ง if เป็นจริง โปรแกรมจะแสดงข้อความ Wrong number แล้วออกจากโปรแกรมของำสั่ง if และลูป while ทันทีเนื่องจากคำสั่งbreak ดังนั้นจึงจะไม่มีข้อความ Enter new number
คำสั่ง continue
-คำสั่ง continue จะใช้ร่วมอยู่กับคำสั่ง loop เพื่อส่งให้โปรแกรมหยุดการทำงานในรอบปัจจุบันและกลับไปทำงานเริ่มรอบใหม่ ตัวอย่างcontinue เช่น
#include
int main ()
{
int count;
for(count=0;count<=100;count++)
{
if(count%10==0)
printf("%d\n",count);
else
{
continue;
printf("Guy Inw Za 555+");
}
}
}
เมื่อรันโปรแกรมนี้ ถ้าเงื่อนไขของคำสั่ง if เป็นเท็จ โปรแกรมจะทำตามคำสั่ง continue นั่นคือหยุดการทำงานในรอบปัจจุบันกลับไปทงานรอบใหม่ จึงทำให้ข้อความ Guy Inw za 55+ จะไม่แสดงขึ้นมาให้เห็นบนหน้าจอ
8.01.2554
แผนการประชุมเตรียมสอบ Midterm วิชา Computer Programming ครั้งที่ 7
โดยการประชุมนั้นประกอบไปด้วย
นายอาภากร กัณหา
นางสาววหัสรา วัจนะรัตน์
นางสาวพรทิพย์ ทายบุตร
นายประวีร์ แสงทอง
นายศราวุฒิ คำเมือง
นายเบญจพล ศรีสันติธรรม (หัวหน้าการประชุม)
นายปลวัชร เปรมสิริอำไพ
นายวีรศักดิ์ ดังชนกนันท์
นายธน สุทธิธรรม
นายอนนท์ มากเจริญ
การประชุมครั้งนี้ปรึกษาพูดคุยเกี่ยวกับ for,whileและ do...while
วันอังคารที่ 12 ก.ค. 54 เวลา 10:45-11:30 น. ที่ตึก 40 ปี ชั้น 8
เนื้อหาจากการประชุมครั้งที่ 8
ข้อ 1. โปรแกรมเกี่ยวกับการใช้คำสั่ง while
#include
int main (void)
{
int j;
j=2;
while(j<0)
{
printf("%d\n",j);
j=j+1;
}
printf("exit\n");
printf("j=%d",j);
return 0;
}
การทำงานของโปรแกรม
1. ประกาศตัวแปร j มีค่าเท่ากับ 2 เป็นตัวแปรชนิด int
2. คำสั่ง while(j<0) คือการทำงานภายใต้คำสั่งนี้จะทำงานเมื่อ ค่า j มีค่าน้อยกว่า 0
3. เมื่อค่า j<0 จะ print ค่าตัวเลขออกมา โดยที่ค่า j เพิ่มขึ้นทีละ 1
4. เมื่อค่า j>0 โปรแกรมจะ print คำว่า exit\n ออกมา
5. และ print j= ค่า j ที่นับได้
6. จบการทำงาน
ข้อ 2. โปรแกรมเกี่ยวกับการใช้คำสั่ง do...while
#include
int main(void)
{
int j;
j=2;
do
{
printf("%d\n",j);
j=j+1;
}
while(j<0);
printf("exit\n");
return 0;
}
การทำงานของโปรแกรม
1. ประกาศค่า j=2 เป็นตัวแปรชนิด int
2. เงื่อนไขของคำสั่ง do...while คือ j<0
3. โปรแกรมจะ print ค่า j ก่อน แล้วเพิ่มค่า j ขึ้นทีละ 1
4. เมื่อทำงานในวงเล็บของ do แล้วจึงจะเช็คเงื่อนไข ในบรรทัด while(j<0)
5. เมื่อค่า j เข้าเงื่อนไขก็จะวนกลับไปทำงานในวงเล็บคำสั่ง do พร้อมทั้งเพิ่มค่า j ขึ้นทีละ 1
6. เมื่อค่า j>0 แล้ว โปรแกรมจะ print คำว่า exit\n
7. จบการทำงาน
ข้อ 3. โปรแกรมที่แสดงค่าตัวเลขลดลงทีละ1
#include
int main(void)
{
int num,count;
printf("Enter Positive Number => ");
scanf("%d",&num);
count=num;
while(count>0)
{
num=num-1;
printf("%d\n",num);
count=count-1;
}
return 0 ;
}
การทำงานของโปรแกรม
1. print ว่า Enter Positive Number =>
2. รับค่า num ที่เป็นค่าชนิด int
3. กำหนดให้ count=num
4. เช็คว่าค่าที่รับเข้ามาว่าตรงกับเงื่อนไขคำสั่ง while(count > 0) หรือไม่
5. ถ้าค่าที่รับเข้ามาตรงกับเงื่อนไข ให้ค่า num ลดลงทีละ 1
6. แล้ว print ค่า num (ค่าตัวเลขที่ลดลงทีละ1)
7. ลดค่ารอบการนับ(count) ลงทีละ1
8. วนรอบการทำงาน เมื่อค่า num ยังตรงกับเงื่อนไขของคำสั่ง while
9. จบการทำงาน
ข้อ 4. โปรแกรมที่ใช้คำสั่ง while ในการวนรอบ
#include
int main(void)
{
int testnum =10;
while(testnum<=100)
{
printf("Put value over 100 or 50 to stop\n");
scanf("%d",&testnum);
if(testnum==50) break;
printf("Hello ,you did\'t enter value 50\n");
}
while(1)
{
printf("Enter 0 or 50 to stop\n");
scanf("%d",&testnum);
if(testnum == 0 testnum == 50) break;
}
return 0;
}
การทำงานของโปรแกรม
1. เช็คค่าตัวแปร testnum ว่ามีค่าน้อยกว่าหรือเท่ากับ 100 หรือไม่
2. ถ้าตรงตามเงื่อนไข โปรแกรมจะ print ว่า Put value over 100 or 50 to stop\n
3. รับค่าของตัวแปร testnum ที่เป็นตัวแปรชนิด int
4. เช็คว่าตัวแปร testnum เท่ากับ 50 หรือไม่
ถ้า testnum=50 จะไปทำงานคำสั่งwhile(1)ต่อ
แต่ถ้า testnum ไม่เท่ากับ 50 โปรแกรมจะ print ว่า Hello ,you did\'t enter value 50\n
5. เมื่อใส่ค่า testnum=50 แล้วจะเข้ามาทำงานภายใต้คำสั่ง while(1)
6. โดยจะ print ว่า Enter 0 or 50 to stop\n
7. รับค่าตัวแปร testnum
8. เช็คเงื่อนไขว่า...
ถ้าตัวแปร testnum = 0
หรือตัวแปร testnum = 50 โปรแกรมจะจบการทำงานทันที
แต่ถ้าไม่ตรงตามเงื่อนไขดังกล่าว โปรแกรมจะวนกลับไปทำงานจนกว่าโปรแกรมจะได้รับค่าตัวแปร testnum ที่ตรงตามเงื่อนไข
9. จบการทำงาน
การประชุมแผนการเตรีมสอบ Midterm วิชา Computer Programming ครั้งที่ 8
โดยการประชุมนั้นประกอบไปด้วย
นายอาภากร กัณหา
นางสาววหัสรา วัจนะรัตน์
นางสาวพรทิพย์ ทาบุตร(หัวหน้าการประชุม)
นายประวีร์ แสงทอง
นายศราวุฒิ คำเมือง
นายเบญจพล ศรีสันติธรรม
นายปลวัชร เปรมสิริอำไพ
นายวีรศักดิ์ ดังชนกนันท์
นายธน สุทธิธรรม
นายอนนท์ มากเจริญ
ประชุมครั้งนี้ได้พูดคุยกันเรื่องการทำโจทย์ Lab4 และคำสั่งที่ใช้ในการทำ Lab4
ประชุมกันที่ชั้น 8 ตึก 40 เวลา 10.00-11.30 น.
7.31.2554
เนื้อหาการปะชุมครั้งที่ 7
#include
ในกรณีจำนวนคำสั่ง for มีแค่คำสั่งเดียว ไม่จำเป็นต้องใส่เครื่องหมาย { } ก็ได้ แต่ผู้เขียนแนะนำให้ผู้อ่านใส่เครื่องหมาย { } ทุกครั้งที่มีการใช้คำสั่ง for
- บรรทัดที่ 6 ประกาศตัวแปรชนิดจำนวนเต็มชื่อ count, sum และ n
- บรรทัดที่ 9 รับข้อมูลชนิดจำนวนเต็มจากแป้นพิมพ์เก็บไว้ที่ตัวแปร n
- บรรทัดที่ 11 กำหนดค่าให้ตัวแปร sum = 0
- บรรทัดที่ 13-16 กำหนดให้โปรแกรมมวนลูปทำงานชุดคำสั่งภายในเครื่องหมาย { } คำสั่ง for โดย กำหนดค่าเริ่มต้นของเงื่อนไขที่ตัวแปร count = 1 แล้วตรวจสอบเงื่อนไขว่า ค่าตัวแปร count น้อยก่าค่าตัวแปร n หรือไม่ ถ้าเงื่อนไขเป็นจริงให้ ทำงาน ชุดคำ สั่งภายในลูปอีกครั้ง ถ้าเงื่อนไขเป็นเท็จให้ออกจากลูปการทำงานทันที
- บรรทัดที่ 15 กำหนดค่าใฟ้ตัวแปร sum เท่ากับผลรวมของตัวแปร sum กับตัวแปร count
- บรรทัดที่ 18 แสดงค่าตัวแปร sum ทางจอภาพ
- บรรทัดที่ 6 ประกาศตัวแปรชนิดจำนวนเต็มชื่อ count และ n
- บรรทัดที่ 9 รับข้อมูลชนิดจำนวนเต็มจากแป้นพิมพ์เก็บไว้ที่ตัวแปร n
- บรรทัดที่ 11 กำหนดค่าให้ตัวแปร count เท่ากับ 0
- บรรทัดที่ 13-18 กำหนดให้โปรแกรมลูปทำงานชุดคำสั่งภายในเครื่องหมาย { } ด้วยคำสั่ง while โดยตรวจสอบเงื่อนไจว่า ค่าตัวแปร count น้อยกว่าค่าตัวแปร n หรือไม่ ถ้าเงื่อนไขเป็นจริงให้ทำงานที่ชุดคำสั่งภายในลูป เมื่อทำงานเสร็จแล้วให้ตรวจสอบ เงื่อนไขค่าตัวแปร count น้อยกว่าค่าตัวแปร n หรือไม่อีกครั้ง ถ้าเงื่อนไขเป็นจริง ให้ทำงานที่ชุดคำสั่งภายในลูปอีกครั้ง ถ้าเป็นเท็จให้ออกจากลูปการทำงานไปทำงานที่คำสั่งถัดไปทันที
- บรรทัดที่ 16 แสดงค่าตัวแปร count ทางจอภาพ
- บรรทัดที่ 17 เพิ่มค่าแปร count ขึ้น 1 ค่า
- บรรทัดที่ 6 ประกาศตัวแปรชนิดอักขระชื่อ ch
- บรรทัดที่ 7 ประกาศตัวแปรชนิดจำนวนเต็มชื่อ sum และ n
- บรรทัดที่ 9 กำหนดค่าตัวแปร sum = 0
- บรรทัดที่ 11-21 กำหนดให้โปรแกรมวนลูปทำงานชุดคำสั่งภายในเครื่องหมาย { } ด้วยคำสั่ง do...while โดนทำงานที่ชุดคำสั่งภายในลูปก่อน 1 ครั้ง แล้วตรวจสอบเงื่อนไขว่า ค่าตัวแปร ch ไม่เท่ากับ N หรือไม่ ถ้าเงื่อนไขเป็นจริงให้ทำงานที่ชุดคำสั่งภาย ในลูปอีกครั้ง ถ้าเป็นเท็จให้ออกจากลูปไปคำสั่งต่อไปทันที
- บรรทัดที่ 15 รับข้อมูลชนิดจำนวนเต็มจากแป้นพิมพ์เก็บไว้ที่ตัวแปร n
- บรรทัดที่ 17 กำหนดค่าให้ตัวแปร sum เท่ากับผลรวมของตัวแปร sum กับตัวแปร n
- บรรทัดที่ 20 รับข้อมูลชนิดอีกขระจากแป้นพิมพ์เก็บไว้ที่ตัวแปร ch
- บรรทัดที่ 21 ตรวจสอบเงื่อนไขค่าตัวแปร ch ไม่เท่ากับ N หรือไม่ ถ้าเงื่อนไขเขเป็นจริงให้ ทำงานที่ชุดคำสั่งภายในลูปอีกครั้ง ถ้าเป็นเท็จให้ออกจากลูปการทำงานไปทำงาน ที่คำ สั่งถัดไป
- คำสั่ง for
- คำสั่ง while
- คำสั่ง do...while
7.21.2554
การประชุมแผนการเตรียมสอบ Midterm วิชา Computer Programming ครั้งที่ 6
โดยการประชุมนั้นประกอบไปด้วย
นายอาภากร กัณหา
นางสาววหัสรา วัจนะรัตน์
นางสาวพรทิพย์ ทายบุตร
นายประวีร์ แสงทอง
นายศราวุฒิ คำเมือง
นายเบญจพล ศรีสันติธรรม
นายปลวัชร เปรมสิริอำไพ
นายวีรศักดิ์ ดังชนกนันท์
นายธน สุทธิธรรม
นายอนนท์ มากเจริญ (หัวหน้าการประชุม)
-ประชุมครั้งนี้ได้พูดคุยกันเรื่องการทำโจทย์ Lab3 และคำสั่งที่ใช้ในการทำ Lab3
-ประชุมกันหน้าสวนหยอมหน้าตึกวิศวกรรมศาสตร์ ตรงที่นั่งใกล้สระน้ำ เวลา 9.00-10.30 น.
เนื้อหาจากการประชุมครั้งที่ 6
ตัวดำเนินการเปรียบเทียบ
มีเครื่องหมาย(==,!=,l l,&&,>,<,>=,<=)
การใช้งาน จะนำข้อมูลสองค่ามาเปรียบเทียบกัน โดยข้อมูลทั้งสองค่าจะเป็นข้อมูล
ประเภทเดียวกันผลที่ได้จะเป็นค่าคือจริงหรือเท็จ
== คือ เท่ากับ
!= คือ ไม่เท่ากับ
> คือ มากกว่า
< คือ น้อยกว่า
>= คือ มากกว่าเท่ากับ
<= คือ น้อยกว่าเท่ากับ
ตัวดำเนินการทางตรรกะ
มีเครื่องหมาย (&&,ll)
การใช้งาน จะไปกระทำกับค่าใดๆ ผลลัพธ์ออกมาจะเป็นจริงหรือเท็จ
&& คือ AND ค่าสองค่า ถ้าค่าทั้งสองค่าเป็นจริงผลลัพธ์จะเป็นจริง
l l คือ OR ค่าสองค่า ถ้าค่าทั้งสองค่าเป็นเท็จผลลัพธ์จะเป็นเท็จ
จะใช้เครื่องหมายทั้งหมดนี้ใน if และ if else
ตัวดำเนินการเปรียบเทียบและตัวดำเนินการทางตรรกะ สามารถใช้ร่วมกันได้
ตัวอย่าง
if (A==B && B==C)
การปัดเศษ
ceil จะใช้ในการปัดเศษส่วนให้ไปทางขวา เช่น 33.4 จะปัดให้เป็น 34
floor จะใช้ในการปัดเศษส่วนให้ไปทางซ้าย เช่น 12.7 จะปัดให้เป็น 12
7.20.2554
การประชุมแผนการเตรียมสอบ Midterm วิชา Computer Programming ครั้งที่5
นายอาภากร กัณหา
เนื้อหาจากการประชุมครั้งที่ 5
คำสั่ง if เป็นคำสั่งที่เราใช้กำหนดให้โปรแกรมตัดสินใจทำหือไม่ทำสิ่งใดสิ่งหนึ่ง โดยตรวจสอบเงื่อนไขที่กำหนดว่าเป็นจริงหรือเท็จ ถ้าเป็นจริง(ture) โปรแกรมจะทำงานที่ชุดคำสั่งที่อยู่ภายใต้คำสั่ง if แต่ถ้าเป็นเท็จ(false) โปรแกรมจะข้ามไปทำงานคำสั่งต่อไปทันที
if(condition)
{
statements;
}
โดยที่ condition เป็นเงื่อนไขที่ใช้กำหนดการตัดสินใจของโปรแกรม
-รันครั้งที่ 1
How old are you? : 15
You are less than 18 years old
You are young
You are 15 years old
-รันครั้งที่ 2
How old are you? : 18
คำสั่ง if...else เป็นคำสั่งที่เราใช้กำหนดให้โปรแกรมตัดสินใจเลือกทำอย่างใดอย่างหนึ่งจาก 2 ทางเลือก โดยตรวจสอบเงื่อนไขที่กำหนดว่าเป็นจริงหรือเท็จ ถ้าเป็นจริง(true) โปรแกรมจะทำงานที่ชุดคำสั่งที่อยู่ภายใต้คำสั่ง if แต่ถ้าเป็นเท็จ(false) โปรแกรมจะทำงานที่ชุดคำสั่ง else
ซึ่งคำสั่ง if...else ในภาษา C มีรูปแบบคำสั่งดังนี้
if(condition)
{
statements1;
}
else
{
statements2;
}
โดยที่ condition เป็นเงื่อนไขที่ใช้กำหนดการตัดสินใจของโปรแกรม
statements1 เป็นชุดคำสั่งที่ทำงานเมื่อเงื่อนไขที่กำหนดให้เป็นจริง
statements2 เป็นชุดคำสั่งที่ทำงานเมื่อเงื่อนไขที่กำหนดให้เป็นเท็จ
จากรูปแบบคำสั่ง if...else เราสามารถเขียน flowchart ได้ดังนี้
ผลลัพธ์จากโปรแกรม
{
ตัวอย่างการใช้คำสั่ง if...else if
ผลลัพธ์ของโปรแกรม
การเขียน Flowchart
หลักการเขียน flowchart
1.flowchartต้องมีจุดเริ่มต้นและจุดสิ้นสุดเสมอ
2.เลือกใช้สัญลักษณ์เพื่อสื่อความหมายให้ถูกต้อง
3.ใช้ลูกศรกำหนดทิศทางการทำงานของโปรแกรม จากบนลงล่าง หรือจากซ้ายไปขวา โดยเรียงตามลำดับการทำงานขอ
4.แผนภาพทุกตัวต้องมีลูกศรเข้าและออก ยกเว้นจุดเริ่มต้นและจุดสิ้นสุดการทำงานเท่านั้น
5.ลูกศรทุกตัวต้องออกจากแผนภาพและชี้ที่แผนภาพเสมอ
6.คำอธืบายในแผนภาพควรสั้นๆเข้าใจง่าย
7.ไม่ควรใช้ลูกศรชี้ไกลเกินไป หากจำเป็นให้ใช้การเชื่อมต่อแทน
อธิบายการทำงานของ flowchart ได้ดังนี้
เนื้อหาจากการประชุมครั้งที่ 4
- ประกาศฟังก์ชั่น void (ไม่ส่งค่ากลับ) เก็บตัวแปรชนิด float 4 ตัว
- รับค่าเมตริก 2*2
- ส่งค่า a11,a12,a21,a22 ไปให้ฟังก์ชั่นคำนวณ
- ที่ฟังก์ชั่น ประกาศตัวแปรเพิ่ม (c) เพื่อหา det a แล้วนำมาหาร a11,a12,a21,a22
จะได้ invers matrix ของ a จากนั้นแสดงค่าที่ได้
โจทย์ 2 แปลงพิกัดฉากเป็นพิกัดเชิงขั้ว แล้วนำค่าพิกัดเชิงขั้วที่ได้แปลงเป็นพิกัดฉาก
- เพิ่ม #include
- ประกาศฟังก์ชั่น cart2pol แปลงพิกัดฉาก -> เชิงขั้ว เก็บตัวแปรชนิด double 2ตัว
- ประกาศฟังก์ชั่น plo2cart แปลงเชิงขั้ว -> พิกัดฉาก เก็บตัวแปรชนิด double 2ตัว
- รับค่า x,y จากแป้นพิมพ์ จากนั้นส่งไปฟังก์ชั่น cart2pol จะได้ค่า r,theta (ประกาศเพิ่มในฟังก์ชั่น)
- ส่งค่า r,theta ไปฟังก์ชั่น pol2cart เพื่อแปลงกลับ
7.19.2554
การประชุมแผนการเตรียมสอบ Midterm วิชา Computer Programming ครั้งที่4
โดยการประชุมนั้นประกอบด้วย
นายอาภากร กัณหา
นางสาวหัสรา วัจนะรัตน์
นางสาวพรทิพย์ ทาบุตร
นายประวีร์ แสงทอง (หัวหน้าการประชุม)
นายศราวุฒิ คำเมือง
นายเบญจพล ศรีสันติธรรม
นายปลวัชร เปรมสิริอำไพ
นายวีรศักดิ์ ดังชนกนันท์
นายธน สุทธิธรรม
นายอานนท์ มากเจริญ
- การประชุมครั้งนี้ เป็นการพูดคุยปรึกษาทำโจทย์เกี่ยวกับ lab 2
- ประชุมกันที่ตึก 40 ปี ชั้น 8 เวลา 10.45-11.30 น.
7.13.2554
เนื้อหาจากการประชุมครั้งที่ 3
เรื่อง ฟังก์ชัน (Function)
คือ ชุดคำสั่งที่รวมกันเป็นโปรแกรมย่อยๆ ภายในเครื่องหมาย {} ถูกสร้างขึ้นมาเพื่อทำงานอย่างใดอย่างหนึ่ง และการตั้งชื่อของฟังก์ชันเพื่อให้สะดวกต่อการเรียกใช้งาน ตามกฎการตั้งชื่อโดยมีรูปแบบการเรียกใช้งานแตกต่างกันคือ จะมีการรับหรือไม่รับข้อมูลจากโปรแกรมที่เรียกใช้งานและจะมีการส่งและไม่ส่งค่าข้อมูลออกจากฟังก์ชัน ซึ่งรูปแบบการใช้งานต่างๆของฟังก์ชันจะขึ้นอยู่กับหน้าที่และเป้าหมายการทำงานของฟังก์ชันนั้นๆ
ฟังก์ชันที่สร้างขึ้นเอง
เป็นฟังก์ชันที่ที่ผู้อ่านเขียนโค้ดสร้างฟังก์ชันขึ้นมาใช้งานเองตามรูปแบบการสร้างฟังก์ชันขิงภาษาซี เพื่อให้ทำงานอย่างใดอย่างหนึ่ง ซึ่งสามารถแบ่งการสร้างฟังก์ชันได้ 4 รูปแบบ คือ
1. ฟังก์ชันที่ไม่มีการคืนค่ากลับ และไม่มีการรับค่าพารามิเตอร์
เป็นฟังก์ชันที่สร้างขึ้นมาโดยไม่มีการรับค่าข้อมูล(พารามิเตอร์)ใดๆ จากฟังก์ชันที่เรียกใช้งาน และเมื่อฟังก์ชันทำงานเสร็จจะไม่มีการคืนค่าข้อมูลใดๆกลับไปให้ฟังก์ชันที่เรียกใช้งานซึ่งมีรูปแบบการสร้างรหัสดังนี้
void functionName (void)
{
Statements;
}
โดยที่ functionName เป็นชื่อฟังก์ชันที่ต้องการสร้าง
statement เป็นชุดคำสั่งภายในฟังก์ชัน
2. ฟังก์ชันที่ไม่มีการคืนค่ากลับ แต่มีการรับค่าพารามิเตอร์
เป็นฟังก์ชันที่สร้างขึ้นโดยมีการรับค่าข้อมูล(พารามิเตอร์) จากฟังก์ชันที่เรียกใช้งาน และเมื่อฟังก์ชันทำงานเสร็จจะไม่มีการคืนค่าข้อมูลใดๆ กลับไปให้ฟังก์ชันที่เรียกใช้งานซึ่งมีรูปแบบการสร้างฟังก์ชันดังนนี้
void functionName (typeParameter_1 varName,……., typeParameter_n varName_n)
{
Statements;
}
โดยที่ functionName เป็นชื่อฟังก์ชันที่ต้องการสร้าง
typeParameter_n เป็นชนิดข้อมูลที่ต้องการรับจากฟังก์ชันที่เรียกใช้งาน
varName_n เป็นชื่อตัวแปรที่ใช้รับข้อมูลจากฟังก์ชันที่เรียกใช้งาน
statements เป็นชุดคำสั่งภายในฟังก์ชัน
3. ฟังก์ชันที่มีการคืนค่ากลับ แต่ไม่มีการรับค่าพารามิเตอร์
เป็นฟังก์ชันที่สร้างขึ้นมาโดยไม่มีการรับข้อมูล(พารามิเตอร์)ใดๆ จากฟังก์ชันที่เรียกใช้งาน และเมื่อฟังก์ชันทำงานเสร็จจะมีการคืนค่าข้อมูลกลับไปให้ฟังก์ชันที่เรียกใช้งานซึ่งมีรูปแบบการสร้างฟังก์ชันดังนี้
typeReturn functionName (void)
{
statements ;
return varNameReturn;
}
โดยที่ functionName เป็นชื่อฟังก์ชันที่ต้องการสร้าง
typeReturn เป็นชนิดข้อมูลที่ต้องการคืนค่ากลับให้ฟังก์ชันที่เรียกใช้งาน
varNameReturn เป็นชื่อตัวแปรที่คืนค่ากลับให้ฟังก์ชันที่เรียกใช้งาน ซึ่งมีชนิด ข้อมูลเดียวกันกับ typeReturn
statements เป็นชุดคำสั่งภายในฟังก์ชัน
4. ฟังก์ชันที่มีการคืนค่ากลับ และมีการรับค่าพารามิเตอร์
เป็นฟังก์ชันที่สร้างขึ้นโดยมีการรับข้อมูล(พารามิเตอร์) จากฟังก์ชันที่เรียกใช้งาน และเมื่อฟังก์ชันทำงานเสร็จจะมีการคืนค่าข้อมูลกลับไปให้ฟังก์ชันที่เรียกใช้งานซึ่งมีรูปแบบการสร้างฟังก์ชันดังนี้
typeReturn functionName (typeParameter_1 varName_1,….., typeParameter_n varName_n)
{
statements;
return varNameReturn;
}
โดยที่ functionName เป็นชื่อฟังก์ชันที่ต้องการสร้าง
typeParameter _n เป็นชนิดข้อมูลที่ต้องการรับจากฟังก์ชันที่เรียกใช้งาน
varName_n เป็นชื่อตัวแปรที่ใช้รับข้อมูลจากฟังก์ชันที่เรียกใช้งาน
typeReturn เป็นชนิดข้อมูลที่ต้องการคืนค่ากลับให้ฟังก์ชันที่เรียกใช้งาน
statements เป็นชุดคำสั่งภายในฟังก์ชัน
varNameReturn เป็นชื่อตัวแปรที่คืนค่ากลับมาให้ฟังก์ชันที่เรียกใช้งาน ซึ่งมีชนิดข้อมูลเดียวกันกับtypeReturn
ตัวอย่างโปรแกรม
หาค่าตัวเลขน้อยที่สุด
#include"stdio.h"
int checkMin(int num1, int num2);
main()
{
int A=5,B=8;
printf("Data A= %d, B= %d\n",A,B);
printf("Check min is %d\n",checkMin(A,B));
}
int checkMin(int num1, int num2)
{
int minValue;
if(num1<=num2)
{
minValue = num1;
}
else
{
minValue = num2;
}
return minValue;
}
แสดงผล
Data A=5, B=8
Check min is 5
=====================================================================