8.02.2554

คุณลักษณะการเป็นนักศึกษาที่ดี


คุณสมบัติการเป็นนักศึกษาที่ดี


โดย กลุ่ม 2



แผนการประชุมเตรียมสอบ Midterm วิชา Computer Programming ครั้งที่10




โดยการประชุมนั้นประกอบไปด้วย
นายอาภากร กัณหา
นางสาววหัสรา วัจนะรัตน์
นางสาวพรทิพย์ ทายบุตร
นายประวีร์ แสงทอง
นายศราวุฒิ คำเมือง
นายเบญจพล ศรีสันติธรรม
นายปลวัชร เปรมสิริอำไพ
นายวีรศักดิ์ ดังชนกนันท์
นายธน สุทธิธรรม (หัวหน้าการประชุม)
นายอนนท์ มากเจริญ

การประชุมครั้งนี้ปรึกษาพูดคุยเกี่ยวกับ สรุปเนื้อหาที่เรียน
เนื้อหาการประชุมครั้งที่10
ทบทวนเนื้อหา(สรุป)

คำสั่ง printf
ใช้ในการแสดงข้อความที่ต้องการแสดงผ่านหน้าจอ
เช่นต้องการแสดงข้อความ
Hello how are you ?
ต้องพิมพ์
printf(" Hello how are you ? ") ;
แต่ในการแสดงผลของตัวเลขจะต้องใช้การเก็บค่าตัวแปรเข้ามาช่วยโดยที่
รหัสควบคุมรูปแบบการแสดงผลค่าของตัวแปรออกทางหน้าจอ
%d = แสดงผลค่าเลขจำนวนเต็ม มีค่า -32,768 ถึง 32767
%f = แสดงผลค่าเลขที่เป็นทศนิยม มีค่า 3.4E+ ถึง-15
%c = แสดงผลค่าตัวอักษร มีค่า -128ถึง127
%s = แสดงผลค่าอักษรและข้อความมากกว่า 1 ตัว

คำสั่งscanf
ใช้ในการรับข้อมูลโดยสามารถรับข้อมูลได้ทุกประเภท ไม่ว่าจะเป็นจำนวนเต็ม ทศนิยม อักขระ หรือข้อความ
ตัวอย่าง
main()
{
.
.
printf(" Enter x : ");
scanf("%d",&x);
.
.

}

การแสดงผลทำงาน
Enter x : (กรอกข้อมูล)

การสร้างตัวแปรสร้างโดยใช้กฎดังนี้

1. ชื่อต้องขึ้นต้นด้วยตัวอักษรหรือเครื่องหมาย _ (เส้นใต้) เครื่องหมายอื่นใช้ไม่ได้

2. ภายในชื่อไม่มีการเว้นวรรค อาจใช้เครื่องหมาย _ ขั้นระหว่างตัวอักษรให้ดูเหมือนเว้นวรรคได้

3. ถัดจาตัวแรกอาจเป็นตัวอักษร ตัวเลข หรือเครื่องหมาย _ก็ได้

4. ความยาวของชื่อไม่จํากัด แต่จะนําตัวอักษรไปเปรียบเทียบความแตกต่าง เพียง 32 ตัวแรกเท่านั้น

5. ตัวอักษรตัวเล็กและตัวอักษรตัวใหญ่ภาษาซีจะถือว่าต่างกัน หรือจะพูดว่า “ชื่อจะเป็น Case-Sensitive”

6. การตั้งชื่อควรหลีกเลี่ยงชื่อที่มีตัวแรกเป็นเครื่องหมาย _เพราะชื่อชนิดนี้มีใช้อยู่มากในการตั้งชื่อตัวแปรของโปรแกรมระบบ (System Variables) อาจจะตรงกันได้โดยไม่ได้ตั้งใจ จะทําให้โปรแกรมทํางานผิดพลาดได้

7.ชื่อ ที่ตั้งขึ้นจะต้องไม่ตรงกับคําสงวน (Reserved Words) หรือบางทีเรียกว่า Keywords เพราะคําสงวนเหล่านี้ได้ถูกใช้เป็นชื่อคําสั่งหรือชื่อของฟังก์ชันในตัวภาษา อยู่แล้ว จะได้ชื่อที่ซํ้ากันอีกไม่ได้

สร้างตัวแปร และกำหนดค่า การรับค่า
ตัวอย่าง
main()
{
int age ;
char sex;
float grade ;

age =20 ; (การกำหนดค่า)
sex = 'm' ;

printf ("Enter grade ="); (รับค่าอะไร)
scanf ("%f",&grade); (การรับค่า)
}
การตั้งสมการคำนวน
การตั้งสมการจะแตกต่างกับคณิตศาสตร์นิดหน่อยโดย
เครื่องหมาย
ความหมาย
ตัวอย่าง
+
บวก
3+2 การบวกเลข 3 บวกกับ 2 ได้ผลลัพธ์คือ 5
-
ลบ
3 - 2 การลบเลข 3 ลบกับ 2 ได้ผลลัพธ์คือ 1
*
คูณ
2*3 การคูณเลข 3 บวกกับ 2 ได้ผลลัพธ์คือ 6
/
หาร
15/2 การหาร 15 หารกับ 2 ได้ผลลัพธ์คือ 7
%
หารเอาเศษ
15%2การหารเอาเศษ 15 หารกับ 2 ได้ผลลัพธ์คือ 1
++

เพิ่มค่าขึ้น 1 โดย
a++ จะนำค่าของ a ไปใช้ก่อนแล้วจึงเพิ่มค่าของ a ขึ้น 1


++a จะเพิ่มค่าของ a ขึ้น 1 ก่อนแล้วจึงนำค่าของ a ไปใช้

b=a++;
จะมีความหมายเทียบเท่ากับ 2 บรรทัดต่อไปนี้
b=a;
a=a+1;


b=++a;
จะมีความหมายเทียบเท่ากับ 2 บรรทัดต่อไปนี้
a=a+1;
b=a;
--
ลดค่า 1 โดย
a-- จะนำค่าของ a ไปใช้ก่อน แล้วจึงลดค่าของ a ลง 1


--a จะลดค่าของ a ลง 1 ก่อน แล้วจึงนำค่าของ a ไปใช้

b=a--;
จะมีความหมายเทียบเท่ากับ 2 บรรทัดต่อไปนี้
ิb=a;
a=a-1;

b=--a;
จะมีความหมายเทียบเท่ากับ 2 บรรทัดต่อไปนี้
a=a-1;
b=a;




การสร้างfunctionมี
4 รูปแบบ
1. ฟังก์ชันที่ไม่มีการคืนค่ากลับ และไม่มีการรับค่าพารามิเตอร์
void functionName (void)
{
.
ชุดคำสั่ง
.
}

2. ฟังก์ชันที่ไม่มีการคืนค่ากลับ แต่มีการรับค่าพารามิเตอร์
void functionName (พารามิเตอร์ตัวที่1,…….,พารามิเตอร์ตัวที่ n)
{
ชุดคำสั่ง
}


3. ฟังก์ชันที่มีการคืนค่ากลับ แต่ไม่มีการรับค่า
void functionName (void)
{
ชุดคำสั่ง
return ผลการทำงาน;
}


4. ฟังก์ชันที่มีการคืนค่ากลับ และมีการรับค่าพารามิเตอร์
void functionName (พารามิเตอร์ตัวที่1,…….,พารามิเตอร์ตัวที่ n)
{
ชุดคำสั่ง
return ผลการทำงาน;
}

การทำเงื่อนไข
เครื่องหมายในการเปรียบเทียบ
เครื่องหมาย
ความหมาย
ตัวอย่าง
>
มากกว่า
a > b a มากกว่า b
>=
มากกว่าหรือเท่ากับ
a >= b a มากกว่าหรือเท่ากับ b
<
น้อยกว่า
a < b a น้อยกว่า b
<=
น้อยกว่าหรือเท่ากับ
a <= b a น้อยกว่าหรือเท่ากับ b
==
เท่ากับ
a == b a เท่ากับ b
!=
ไม่เท่ากับ
a != b a ไม่เท่ากับ b
เปรียบเทียบค่าทางตรรกะ( และ หรือ ไม่)
เครื่องหมาย
ความหมาย
ตัวอย่าง
&&
และ
x < 60 && x > 50 กำหนดให้ x มีค่าในช่วง 50 ถึง 60
||
หรือ
x == 10 || x == 15 กำหนดให้ x มีค่าเท่ากับตัวเลข 2 ค่า คือ 10 หรือ 15
!
ไม่
x = 10 !x กำหนดให้ x ไม่เท่ากับ 10


คำสั่งifและelse
if (การเปรียบเทียบ)
สิ่งที่ต้องการให้ทำเมื่ิอผลการเปรียบเทียบเป็นจริง
else
สิ่งที่ต้องการให้ทำเมื่ิอผลการเปรียบเทียบเป็นเท็จ

การทำซ้ำมีคำสั่ง3คำสั่ง
1. คำสั่ง for มีการกำหนดรอบที่แน่นอน
for ( เงื่อนไข )
for (count=0;count<10;count++ )
2. คำสั่ง while มีการไม่กำหนดรอบที่แน่นอน
while ( เงื่อนไข )
{
กลุ่มคำสั่งที่ต้องการทำซ้ำ
}
3. คำสั่ง do…while มีการไม่กำหนดรอบที่แน่นอนและทำคำสั่งใน{}ก่อน
do
{
กลุ่มคำสั่ง
}

while ( เงื่อนไข )
{
กลุ่มคำสั่งที่ต้องการทำซ้ำ
}

ข้อมูลจาก
คู่มือเขียนโปรแกรมCด้วยภาษาซี
ตารางมาจาก
http://www.lks.ac.th/kuanjit/c_page02.htm

แผนการประชุมเตรียมสอบ Midterm วิชา Computer Programming ครั้งที่9



โดยการประชุมนั้นประกอบไปด้วย
นายอาภากร กัณหา
นางสาววหัสรา วัจนะรัตน์
นางสาวพรทิพย์ ทายบุตร
นายประวีร์ แสงทอง
นายศราวุฒิ คำเมือง
นายเบญจพล ศรีสันติธรรม (หัวหน้าการประชุม)
นายปลวัชร เปรมสิริอำไพ
นายวีรศักดิ์ ดังชนกนันท์
นายธน สุทธิธรรม
นายอนนท์ มากเจริญ

การประชุมครั้งนี้ปรึกษาพูดคุยเกี่ยวกับ break,continue

เนื้อหาจากการประชุมครั้งที่ 9






นอกจากคำสั่งควบคุมทิศทางการทำงานของโปรแกรมในแบบต่างๆ แล้ว ภาษาC ยังมีคำสั่งอีกกลุ่มหนึ่ง ซึ่งอาจจะไม่ได้ใช้สำหรับควบคุมทิศทางการทำงานของโปรแกรมโดยตรง แต่คำสั่งเหล่านี้มักจะถูกนำรวมไปใช้กับคำสั่งอื่นๆ เช่น นำไปเพื่อหยุดการเลือกทำ หรือออกจากการทำงานของระบบ เพราะฉะนั้น ในการประชุมครั้งนี้เราจะประชุมคำสั่งที่ใช้ควบคู่พร้อมกับ คำสั่ง loopในบางโปรแกรมในการประชุมนี้จะขอเสนอคำสั่ง2อย่างที่ใช้เป็นประจำคือ

1.คำสั่งbreak

2.คำสั่งcontinue

คำสั่ง break

-คำสั่ง break ถูกนำไปใช้รวมกับคำสั่งเลือกทำหรือคำสั่งวนรอบ เพื่อให้โปรแกรมหยุดการทำงานของคำสั่งแบบเลือกทำหรือวนรอบที่กำลังทำงานอยู่ ตัวอย่างการใช้งานคำสั่ง breakเช่น
โปรแกรมที่มีการใช้คำสั่งbreakซ้อนอยู่ในคำสั่งif
#include
int main ()
{
int count=0,num;
while (count <10)
{
printf("Enterr number :");
scanf("%d",&num);
if(num == 0)
{
printf("Wrong number\n");
break;
}
else
printf("Right number\n");
}
}

เมื่อสั่งรันโปรแกรม ให้ป้อนค่าหลายๆๆค่าจากนั้นให้ป้อนเลข 0 ซึ่งจะทำให้เงื่อนไขของคำสั่ง if เป็นจริง โปรแกรมจะแสดงข้อความ Wrong number แล้วออกจากโปรแกรมของำสั่ง if และลูป while ทันทีเนื่องจากคำสั่งbreak ดังนั้นจึงจะไม่มีข้อความ Enter new number

คำสั่ง continue
-คำสั่ง continue จะใช้ร่วมอยู่กับคำสั่ง loop เพื่อส่งให้โปรแกรมหยุดการทำงานในรอบปัจจุบันและกลับไปทำงานเริ่มรอบใหม่ ตัวอย่างcontinue เช่น

#include
int main ()
{
int count;
for(count=0;count<=100;count++)
{
if(count%10==0)
printf("%d\n",count);
else
{
continue;
printf("Guy Inw Za 555+");
}
}
}

เมื่อรันโปรแกรมนี้ ถ้าเงื่อนไขของคำสั่ง if เป็นเท็จ โปรแกรมจะทำตามคำสั่ง continue นั่นคือหยุดการทำงานในรอบปัจจุบันกลับไปทงานรอบใหม่ จึงทำให้ข้อความ Guy Inw za 55+ จะไม่แสดงขึ้นมาให้เห็นบนหน้าจอ

8.01.2554

แผนการประชุมเตรียมสอบ Midterm วิชา Computer Programming ครั้งที่ 7

การประชุมครั้งที่ 7 ของกลุ่ม 2 sec D



โดยการประชุมนั้นประกอบไปด้วย
นายอาภากร กัณหา
นางสาววหัสรา วัจนะรัตน์

นางสาวพรทิพย์ ทายบุตร
นายประวีร์ แสงทอง
นายศราวุฒิ คำเมือง
นายเบญจพล ศรีสันติธรรม (หัวหน้าการประชุม)
นายปลวัชร เปรมสิริอำไพ
นายวีรศักดิ์ ดังชนกนันท์
นายธน สุทธิธรรม
นายอนนท์ มากเจริญ

การประชุมครั้งนี้ปรึกษาพูดคุยเกี่ยวกับ for,whileและ do...while

วันอังคารที่ 12 ก.ค. 54 เวลา 10:45-11:30 น. ที่ตึก 40 ปี ชั้น 8

เนื้อหาจากการประชุมครั้งที่ 8

การทำโจทย์ Lab4
ข้อ 1. โปรแกรมเกี่ยวกับการใช้คำสั่ง while
#include
int main (void)
{
int j;
j=2;
while(j<0)
{
printf("%d\n",j);
j=j+1;
}
printf("exit\n");
printf("j=%d",j);
return 0;
}
การทำงานของโปรแกรม
1. ประกาศตัวแปร j มีค่าเท่ากับ 2 เป็นตัวแปรชนิด int
2. คำสั่ง while(j<0) คือการทำงานภายใต้คำสั่งนี้จะทำงานเมื่อ ค่า j มีค่าน้อยกว่า 0
3. เมื่อค่า j<0 จะ print ค่าตัวเลขออกมา โดยที่ค่า j เพิ่มขึ้นทีละ 1
4. เมื่อค่า j>0 โปรแกรมจะ print คำว่า exit\n ออกมา
5. และ print j= ค่า j ที่นับได้
6. จบการทำงาน

ข้อ 2. โปรแกรมเกี่ยวกับการใช้คำสั่ง do...while
#include
int main(void)
{
int j;
j=2;
do
{
printf("%d\n",j);
j=j+1;
}
while(j<0);

printf("exit\n");
return 0;
}
การทำงานของโปรแกรม
1. ประกาศค่า j=2 เป็นตัวแปรชนิด int
2. เงื่อนไขของคำสั่ง do...while คือ j<0
3. โปรแกรมจะ print ค่า j ก่อน แล้วเพิ่มค่า j ขึ้นทีละ 1
4. เมื่อทำงานในวงเล็บของ do แล้วจึงจะเช็คเงื่อนไข ในบรรทัด while(j<0)
5. เมื่อค่า j เข้าเงื่อนไขก็จะวนกลับไปทำงานในวงเล็บคำสั่ง do พร้อมทั้งเพิ่มค่า j ขึ้นทีละ 1
6. เมื่อค่า j>0 แล้ว โปรแกรมจะ print คำว่า exit\n
7. จบการทำงาน

ข้อ 3. โปรแกรมที่แสดงค่าตัวเลขลดลงทีละ1
#include
int main(void)
{
int num,count;
printf("Enter Positive Number => ");
scanf("%d",&num);
count=num;

while(count>0)
{
num=num-1;
printf("%d\n",num);
count=count-1;
}

return 0 ;
}
การทำงานของโปรแกรม
1. print ว่า Enter Positive Number =>
2. รับค่า num ที่เป็นค่าชนิด int
3. กำหนดให้ count=num
4. เช็คว่าค่าที่รับเข้ามาว่าตรงกับเงื่อนไขคำสั่ง while(count > 0) หรือไม่
5. ถ้าค่าที่รับเข้ามาตรงกับเงื่อนไข ให้ค่า num ลดลงทีละ 1
6. แล้ว print ค่า num (ค่าตัวเลขที่ลดลงทีละ1)
7. ลดค่ารอบการนับ(count) ลงทีละ1
8. วนรอบการทำงาน เมื่อค่า num ยังตรงกับเงื่อนไขของคำสั่ง while
9. จบการทำงาน

ข้อ 4. โปรแกรมที่ใช้คำสั่ง while ในการวนรอบ
#include
int main(void)
{
int testnum =10;

while(testnum<=100)
{
printf("Put value over 100 or 50 to stop\n");
scanf("%d",&testnum);

if(testnum==50) break;
printf("Hello ,you did\'t enter value 50\n");
}

while(1)
{
printf("Enter 0 or 50 to stop\n");
scanf("%d",&testnum);
if(testnum == 0 testnum == 50) break;
}

return 0;
}
การทำงานของโปรแกรม
1. เช็คค่าตัวแปร testnum ว่ามีค่าน้อยกว่าหรือเท่ากับ 100 หรือไม่
2. ถ้าตรงตามเงื่อนไข โปรแกรมจะ print ว่า Put value over 100 or 50 to stop\n
3. รับค่าของตัวแปร testnum ที่เป็นตัวแปรชนิด int
4. เช็คว่าตัวแปร testnum เท่ากับ 50 หรือไม่
ถ้า testnum=50 จะไปทำงานคำสั่งwhile(1)ต่อ
แต่ถ้า testnum ไม่เท่ากับ 50 โปรแกรมจะ print ว่า Hello ,you did\'t enter value 50\n
5. เมื่อใส่ค่า testnum=50 แล้วจะเข้ามาทำงานภายใต้คำสั่ง while(1)
6. โดยจะ print ว่า Enter 0 or 50 to stop\n
7. รับค่าตัวแปร testnum
8. เช็คเงื่อนไขว่า...
ถ้าตัวแปร testnum = 0
หรือตัวแปร testnum = 50 โปรแกรมจะจบการทำงานทันที
แต่ถ้าไม่ตรงตามเงื่อนไขดังกล่าว โปรแกรมจะวนกลับไปทำงานจนกว่าโปรแกรมจะได้รับค่าตัวแปร testnum ที่ตรงตามเงื่อนไข
9. จบการทำงาน

การประชุมแผนการเตรีมสอบ Midterm วิชา Computer Programming ครั้งที่ 8






โดยการประชุมนั้นประกอบไปด้วย
นายอาภากร กัณหา
นางสาววหัสรา วัจนะรัตน์
นางสาวพรทิพย์ ทาบุตร(หัวหน้าการประชุม)
นายประวีร์ แสงทอง
นายศราวุฒิ คำเมือง
นายเบญจพล ศรีสันติธรรม
นายปลวัชร เปรมสิริอำไพ
นายวีรศักดิ์ ดังชนกนันท์
นายธน สุทธิธรรม
นายอนนท์ มากเจริญ

ประชุมครั้งนี้ได้พูดคุยกันเรื่องการทำโจทย์ Lab4 และคำสั่งที่ใช้ในการทำ Lab4
ประชุมกันที่ชั้น 8 ตึก 40 เวลา 10.00-11.30 น.