7.31.2554

เนื้อหาการปะชุมครั้งที่ 7

คำสั่ง for ,while ,do...while

1. for (วนลูปการทำงานด้วยจำนวนรอบที่แน่นอน)
เป็นคำสั่ง for เป็นคำสั่งวนซ้ำการทำงานเดิมๆ ด้วยจำนวนรอบที่แน่นอน โดยที่โปรแกรมจะตรวจสอบเงื่นไขการทำงานทุกรอบ ถ้าเงื่อนไขเป็นจริงให้ทำงานที่ชุดคำสั่งภายในในลูปต่อไป เมื่อทำงานเสร็จจะเพิ่มหรือลดค่าตัวแปรที่ใช้กำหนดเงื่อนไข และตรวจสอบเงื่อนไขใหม่อีกครั้ง ถ้าเงื่อนไขเป็นเท็จให้โปรแกรมออกจาก ลูปการทำงานไปทำงานที่คำสั่งถัดไปทันที
ซึ่งคำสั่ง for ในภาษ C มีรุปแยบบคำสั่งดังนี้

for(initial; condition; change)
{
statements;
}
โดยที่ initial เป็นส่วนกำหนดค่าเรื่มต้นของตัวแปรที่ใช้กำหนดเงื่อนไข
condition เป็นส่วนกำหนดเงื่อนไขการวนลูป
change เป็นส่วนการเปลี่ยนแปลงของตัวแปรในแต่ละรอบ
statements เป็นชุดคำสั่งที่ต้องทำเมื่อเงื่อนไขเป็นจริง

Flowchart

Ex.1
#include
#include
main( )
{
int count, sum, n;
printf("Enter integer : ");
scanf("%d", &n);

sum = 0;
for (count = 1; count <= n; count++)
{
sum += count;
}

printf("Sum = %d", sum);

getch ( ) ;
}

Result
Enter integer : 9
Sum= = 45
ในกรณีจำนวนคำสั่ง for มีแค่คำสั่งเดียว ไม่จำเป็นต้องใส่เครื่องหมาย { } ก็ได้ แต่ผู้เขียนแนะนำให้ผู้อ่านใส่เครื่องหมาย { } ทุกครั้งที่มีการใช้คำสั่ง for

อธิบายการทำงานโปรแกรม
  1. บรรทัดที่ 6 ประกาศตัวแปรชนิดจำนวนเต็มชื่อ count, sum และ n
  2. บรรทัดที่ 9 รับข้อมูลชนิดจำนวนเต็มจากแป้นพิมพ์เก็บไว้ที่ตัวแปร n
  3. บรรทัดที่ 11 กำหนดค่าให้ตัวแปร sum = 0
  4. บรรทัดที่ 13-16 กำหนดให้โปรแกรมมวนลูปทำงานชุดคำสั่งภายในเครื่องหมาย { } คำสั่ง for โดย กำหนดค่าเริ่มต้นของเงื่อนไขที่ตัวแปร count = 1 แล้วตรวจสอบเงื่อนไขว่า ค่าตัวแปร count น้อยก่าค่าตัวแปร n หรือไม่ ถ้าเงื่อนไขเป็นจริงให้ ทำงาน ชุดคำ สั่งภายในลูปอีกครั้ง ถ้าเงื่อนไขเป็นเท็จให้ออกจากลูปการทำงานทันที
  5. บรรทัดที่ 15 กำหนดค่าใฟ้ตัวแปร sum เท่ากับผลรวมของตัวแปร sum กับตัวแปร count
  6. บรรทัดที่ 18 แสดงค่าตัวแปร sum ทางจอภาพ

2. while (วนลูปการทำงานเมื่อเงื่อนไขเป็นจริง)

คำสั่ง while เป็นคำสั่งวนคำสั่งวนซ้ำการทำงานเดิมๆของโปรแกรม โดนโปรแกรมตรวจสอบเงื่อนไขก่อนการทำงานทุกครั้ง ถ้าเงื่อนไขที่กำหนดเแ็นจริง โปรแกรมจะทำงานที่ชุดคำสั่งภายในลูป เมื่อโปรแกรมทำงานเสร็จจะตรวจสอบเงื่อนไขใหม่อีกครั้ง ถ้าเงื่อนไขที่กำหนดเป็นเท็จ โปรแกรมจะออกจากลูปการทำงานไปทำงานที่คำสั่งถัดไปทันที
ซึ่งคำสั่ง while ในภาษา C มีรูปแบบคำสั่งดังนี้

while (condition)
{
statement;
}

โดยที่ condition เป็นเงื่อนไขที่กำหนดให้ตรวจสอบก่อนทำงานภายในลูปทุกครั้ง
statement เป็นชุดคำสั่งที่ต้องทำเมื่อเงื่อนไขเป็นจริง


Flowchart
Ex.2
#include
#include

main ( )
{
int count, n;
printf("Enter integer : ");
scanf("%d", &n);

count = 0;
printf("\n\n");

while(count < n)
{
printf("\t%d", count);
count++;
}
getch ( ) ;
}

Result
Enter integer : 7

0 1 2 3 4 5 6

อธิบายการทำงานของโปรแกรม
  1. บรรทัดที่ 6 ประกาศตัวแปรชนิดจำนวนเต็มชื่อ count และ n
  2. บรรทัดที่ 9 รับข้อมูลชนิดจำนวนเต็มจากแป้นพิมพ์เก็บไว้ที่ตัวแปร n
  3. บรรทัดที่ 11 กำหนดค่าให้ตัวแปร count เท่ากับ 0
  4. บรรทัดที่ 13-18 กำหนดให้โปรแกรมลูปทำงานชุดคำสั่งภายในเครื่องหมาย { } ด้วยคำสั่ง while โดยตรวจสอบเงื่อนไจว่า ค่าตัวแปร count น้อยกว่าค่าตัวแปร n หรือไม่ ถ้าเงื่อนไขเป็นจริงให้ทำงานที่ชุดคำสั่งภายในลูป เมื่อทำงานเสร็จแล้วให้ตรวจสอบ เงื่อนไขค่าตัวแปร count น้อยกว่าค่าตัวแปร n หรือไม่อีกครั้ง ถ้าเงื่อนไขเป็นจริง ให้ทำงานที่ชุดคำสั่งภายในลูปอีกครั้ง ถ้าเป็นเท็จให้ออกจากลูปการทำงานไปทำงานที่คำสั่งถัดไปทันที
  5. บรรทัดที่ 16 แสดงค่าตัวแปร count ทางจอภาพ
  6. บรรทัดที่ 17 เพิ่มค่าแปร count ขึ้น 1 ค่า

3. do...while (วนลูปการทำงานอย่างน้อย 1 ครั้ง)

คำสั่ง do...while เป็นคำสั่งวนซ้ำการทำงานเดิมๆ โดยโปรแกรมจะทำงานชุดคำสั่งในลูปก่อน 1 รอบ จึงตรวจสอบเงื่อนไขที่กำหนด ถ้าเงื่อนไขที่กำหนด ถ้าเงื่อนไขที่กำหนดเป็นตริงให้กลับไปทำงานชุดคำสั่งภายในลูปอีกครั้ง และตรวจสอบเงื่อนไขที่กำหนดอีกครั้ง ถ้าเงื่อนไขที่กำหนดเป็นเท็จโปรแกรมจะออกจากลูปการทำงานไปทำงานที่คำสั่งถัดไปทันที
ซึ่งคำสั่ง do...while ในภาษ C มีรูปแบบคำสั่งดังนี้

do
{
statements;
}while (condition);

โดยที่ condition เป็นเงื่อนไขที่กำหนดให้ตรวจสอบหลังทำงานภายในลูปทุกครั้ง
statements เป็นชุดคำสั่งที่ทำงานก่อนตรวจสอบเงื่อนไข
จากรูปแบบคำสั่ง do...while เราสามารถเขียนแผนภูมิการทำงาน (Flowchart) ได้ดังนี้

#include
#include

main ( )
{
char ch;
int sum, n;

sum = 0;

do
{
printf("\n\n");
printf("Enter integer : ");

sum = sum + n;

printf("Do you want do again : ");
ch = getch( );
} while(ch != 'N');

printf("\n\n");
printf("Sum : %d", sum);
getch( );
}
Result
Enter integer : 9
Do you want to do again :
Enter integer : 7
Do you want to do again :
Enter integer : 6
Do you want to do again :
Sum : 22

อธิบายการทำงานของโปรแกรม
  1. บรรทัดที่ 6 ประกาศตัวแปรชนิดอักขระชื่อ ch
  2. บรรทัดที่ 7 ประกาศตัวแปรชนิดจำนวนเต็มชื่อ sum และ n
  3. บรรทัดที่ 9 กำหนดค่าตัวแปร sum = 0
  4. บรรทัดที่ 11-21 กำหนดให้โปรแกรมวนลูปทำงานชุดคำสั่งภายในเครื่องหมาย { } ด้วยคำสั่ง do...while โดนทำงานที่ชุดคำสั่งภายในลูปก่อน 1 ครั้ง แล้วตรวจสอบเงื่อนไขว่า ค่าตัวแปร ch ไม่เท่ากับ N หรือไม่ ถ้าเงื่อนไขเป็นจริงให้ทำงานที่ชุดคำสั่งภาย ในลูปอีกครั้ง ถ้าเป็นเท็จให้ออกจากลูปไปคำสั่งต่อไปทันที
  5. บรรทัดที่ 15 รับข้อมูลชนิดจำนวนเต็มจากแป้นพิมพ์เก็บไว้ที่ตัวแปร n
  6. บรรทัดที่ 17 กำหนดค่าให้ตัวแปร sum เท่ากับผลรวมของตัวแปร sum กับตัวแปร n
  7. บรรทัดที่ 20 รับข้อมูลชนิดอีกขระจากแป้นพิมพ์เก็บไว้ที่ตัวแปร ch
  8. บรรทัดที่ 21 ตรวจสอบเงื่อนไขค่าตัวแปร ch ไม่เท่ากับ N หรือไม่ ถ้าเงื่อนไขเขเป็นจริงให้ ทำงานที่ชุดคำสั่งภายในลูปอีกครั้ง ถ้าเป็นเท็จให้ออกจากลูปการทำงานไปทำงาน ที่คำ สั่งถัดไป

สรุปเนื้อหาบทที่ 6

การเขียนโค้ดเพื่อกำหนดให้โปแกรมวนลูปทำงานในชุดคำสั่งเดียวกัน ตามเงื่อนไขที่เราต้องการในภาษ C นั้น มีด้วยกัน 3 คำสั่งคือ คำสั่ง for, คำสั่ง while, คำสั่ง do...while รูปแบบดังนี้
  • คำสั่ง for
for (initial; condition; change)
{
statements;
}

  • คำสั่ง while
while(condition)
{
statements;
}

  • คำสั่ง do...while
do
{
statements;
}while (condition);



7.21.2554

การประชุมแผนการเตรียมสอบ Midterm วิชา Computer Programming ครั้งที่ 6

การประชุมครั้งที่ 6 ของกลุ่ม 2 SEC D






โดยการประชุมนั้นประกอบไปด้วย
นายอาภากร กัณหา
นางสาววหัสรา วัจนะรัตน์
นางสาวพรทิพย์ ทายบุตร
นายประวีร์ แสงทอง
นายศราวุฒิ คำเมือง
นายเบญจพล ศรีสันติธรรม
นายปลวัชร เปรมสิริอำไพ
นายวีรศักดิ์ ดังชนกนันท์
นายธน สุทธิธรรม
นายอนนท์ มากเจริญ (หัวหน้าการประชุม)

-ประชุมครั้งนี้ได้พูดคุยกันเรื่องการทำโจทย์ Lab3 และคำสั่งที่ใช้ในการทำ Lab3
-ประชุมกันหน้าสวนหยอมหน้าตึกวิศวกรรมศาสตร์ ตรงที่นั่งใกล้สระน้ำ เวลา 9.00-10.30 น.

เนื้อหาจากการประชุมครั้งที่ 6

สิ่งที่ควรรู้ในการทำ Lab 3

ตัวดำเนินการเปรียบเทียบ
มีเครื่องหมาย(==,!=,l l,&&,>,<,>=,<=)
การใช้งาน จะนำข้อมูลสองค่ามาเปรียบเทียบกัน โดยข้อมูลทั้งสองค่าจะเป็นข้อมูล
ประเภทเดียวกันผลที่ได้จะเป็นค่าคือจริงหรือเท็จ
== คือ เท่ากับ
!= คือ ไม่เท่ากับ
> คือ มากกว่า
< คือ น้อยกว่า
>= คือ มากกว่าเท่ากับ
<= คือ น้อยกว่าเท่ากับ


ตัวดำเนินการทางตรรกะ
มีเครื่องหมาย (&&,ll)
การใช้งาน จะไปกระทำกับค่าใดๆ ผลลัพธ์ออกมาจะเป็นจริงหรือเท็จ

&& คือ AND ค่าสองค่า ถ้าค่าทั้งสองค่าเป็นจริงผลลัพธ์จะเป็นจริง
l l คือ OR ค่าสองค่า ถ้าค่าทั้งสองค่าเป็นเท็จผลลัพธ์จะเป็นเท็จ
จะใช้เครื่องหมายทั้งหมดนี้ใน if และ if else
ตัวดำเนินการเปรียบเทียบและตัวดำเนินการทางตรรกะ สามารถใช้ร่วมกันได้
ตัวอย่าง
if (A==B && B==C)


การปัดเศษ
ceil จะใช้ในการปัดเศษส่วนให้ไปทางขวา เช่น 33.4 จะปัดให้เป็น 34
floor จะใช้ในการปัดเศษส่วนให้ไปทางซ้าย เช่น 12.7 จะปัดให้เป็น 12

7.20.2554

การประชุมแผนการเตรียมสอบ Midterm วิชา Computer Programming ครั้งที่5

การประชุมครั้งที่ 5 ของกลุ่ม 2 SEC D






โดยการประชุมนั้นประกอบด้วย


นายอาภากร กัณหา

นางสาวหัสรา วัจนะรัตน์ (หัวหน้าการประชุม)

นางสาวพรทิพย์ ทาบุตร

นายประวีร์ แสงทอง

นายศราวุฒิ คำเมือง

นายเบญจพล ศรีสันติธรรม

นายปลวัชร เปรมสิริอำไพ

นายวีรศักดิ์ ดังชนกนันท์

นายธน สุทธิธรรม

นายอานนท์ มากเจริญ


ในการประชุมครั้งนี้เราได้ พูดคุยปรึกษาเกี่ยวกับเรื่อง if,else และ Flowchart

เวลา 13:30-15:00 น. ที่ตึก 40 ปี ชั้น 8 ค่ะ

เนื้อหาจากการประชุมครั้งที่ 5

คำสั่งเงื่อนไข(Condition Statement)


1.คำสั่งตัดสินใจแบบเลือกทำหรือไม่ด้วยคำสั่ง if
คำสั่ง if เป็นคำสั่งที่เราใช้กำหนดให้โปรแกรมตัดสินใจทำหือไม่ทำสิ่งใดสิ่งหนึ่ง โดยตรวจสอบเงื่อนไขที่กำหนดว่าเป็นจริงหรือเท็จ ถ้าเป็นจริง(ture) โปรแกรมจะทำงานที่ชุดคำสั่งที่อยู่ภายใต้คำสั่ง if แต่ถ้าเป็นเท็จ(false) โปรแกรมจะข้ามไปทำงานคำสั่งต่อไปทันที


ซึ่งคำสั่ง if ในภาษา C มีรูปแบบคำสั่งดังนี้
if(condition)
{
statements;
}
โดยที่ condition เป็นเงื่อนไขที่ใช้กำหนดการตัดสินใจของโปรแกรม

statements เป็นชุดคำสั่งที่ทำงานเมื่อเงื่อนไขที่กำหนดให้เป็นจริง


คำสั่ง if สามารถเขียนแผนภูมิการทำงาน(flowchart)ได้ดังนี้



*NOTE ถ้าหากคำสั่งภายใต้คำสั่ง if มีเพียงคำสั่งเดียว ไม่จำเป็นต้องใส้เครื่องหมาย { } ก็ได้*



ตัวอย่างการใช้คำสั่ง if




ผลลัพธ์ของโปรแกรม
-รันครั้งที่ 1
How old are you? : 15
You are less than 18 years old
You are young
You are 15 years old
-รันครั้งที่ 2
How old are you? : 18

You are 18 years old


2.การตัดสินใจแบบสองทางเลือกด้วย if....else
คำสั่ง if...else เป็นคำสั่งที่เราใช้กำหนดให้โปรแกรมตัดสินใจเลือกทำอย่างใดอย่างหนึ่งจาก 2 ทางเลือก โดยตรวจสอบเงื่อนไขที่กำหนดว่าเป็นจริงหรือเท็จ ถ้าเป็นจริง(true) โปรแกรมจะทำงานที่ชุดคำสั่งที่อยู่ภายใต้คำสั่ง if แต่ถ้าเป็นเท็จ(false) โปรแกรมจะทำงานที่ชุดคำสั่ง else
ซึ่งคำสั่ง if...else ในภาษา C มีรูปแบบคำสั่งดังนี้
if(condition)
{
statements1;
}
else
{
statements2;
}

โดยที่ condition เป็นเงื่อนไขที่ใช้กำหนดการตัดสินใจของโปรแกรม
statements1 เป็นชุดคำสั่งที่ทำงานเมื่อเงื่อนไขที่กำหนดให้เป็นจริง
statements2 เป็นชุดคำสั่งที่ทำงานเมื่อเงื่อนไขที่กำหนดให้เป็นเท็จ


จากรูปแบบคำสั่ง if...else เราสามารถเขียน flowchart ได้ดังนี้







ตัวอย่างการใช้คำสั่ง if...else





ผลลัพธ์จากโปรแกรม

-รันครั้งที่ 1

Please enter points : 49

Fail!!

-รันครั้งที่ 2

Please enter points : 79

Pass exam!!


3.การตัดสินใจแบบหลายทางเลือกด้วย if...else if

คำสั่ง if...else if เป็นคำสั่งที่เราใช้กำหนดให้โปรแกรมตัดสินใจเลือกทางใดทางหนึ่งจากทางเลือกที่มีมากกว่า 2 ทาง และแต่ละทางเลือกจะมีการกำหนดเงื่อนไขของแต่ละทางเลือกไว้ด้วย โดยโปรแกรมจะตรวจสอบเงื่อนไขของแต่ละทางเลือก หากพบว่าทางเลือกไหนมีเงื่อนไขที่เป็นจริง(true) ก็จะทำงานที่ชุดคำสั่งภายในทางเลือกนั้น โดยไม่พิจารณาทางเลือกอื่นที่ยังไม่ได้ทำกานตรวจสอบอีก ในกรณีที่เงื่อนไขเป็นเท็จ (false) ให้ตรวจสอบที่เงื่อนไขถัดไป และในกรณีที่เงื่อนไขทั้งหมดเป็นเท็จ ให้โปรแกรมทำงานที่ชุดคำสั่งภายในคำสั่ง else


ซึ่งคำสั่ง if..else if ในภาษา C มีรูปแบบคำสั่งดังนี้

if(condition_1)
{

statements_1;

}

else if(condition_2)

{

statements_2;

}

else if(condition_n)

{

statements_n;

}

else

{

statements;

}


โดยที่ condition_n เป็นเงื่อนไขที่ n ที่ใช้กำหนดการตัดสินใจของโปรแกรม

statements_n เป็นชุดคำสั่งที่ต้องทำงานเมื่อเงื่อนไขที่กำหนดที่ n เป็นจำนวนจริง

statements เป็นชุดคำสั่งที่ต้องทำงานเมื่อเงื่อนไขที่กำหนดทั้งหมดเป็นเท็จ


จากรูปแบบตำสั่ง if...else if สามารถเขียน flowchart ได้ดังนี้








ตัวอย่างการใช้คำสั่ง if...else if





ผลลัพธ์ของโปรแกรม

-รันครั้งที่ 1

Please enter points : 55

You get grade D

-รันครั้งที่

Please enter points : 80

You get grade A



การเขียน Flowchart


-สัญลักษณ์และการใช้งาน




หลักการเขียน flowchart
1.flowchartต้องมีจุดเริ่มต้นและจุดสิ้นสุดเสมอ
2.เลือกใช้สัญลักษณ์เพื่อสื่อความหมายให้ถูกต้อง
3.ใช้ลูกศรกำหนดทิศทางการทำงานของโปรแกรม จากบนลงล่าง หรือจากซ้ายไปขวา โดยเรียงตามลำดับการทำงานขอ

คำสั่งไม่ควรสลับการทำงานขึ้นบ้างลงบ้าง
4.แผนภาพทุกตัวต้องมีลูกศรเข้าและออก ยกเว้นจุดเริ่มต้นและจุดสิ้นสุดการทำงานเท่านั้น
5.ลูกศรทุกตัวต้องออกจากแผนภาพและชี้ที่แผนภาพเสมอ
6.คำอธืบายในแผนภาพควรสั้นๆเข้าใจง่าย
7.ไม่ควรใช้ลูกศรชี้ไกลเกินไป หากจำเป็นให้ใช้การเชื่อมต่อแทน


ตัวอย่างการเขียนและอธิบายการทำงานของ flowchart





อธิบายการทำงานของ flowchart ได้ดังนี้

1.เริ่มการทำงานของโปรแกรมโดยการกำหนดค่าตัวแปร A=5 , B=3

2.กำหนดให้ตัวแปร A มีค่าเท่ากับ A+B

3.แสดงค่าตัวแปร A จบการทำงานของโปรแกรม


จาก flowchart สามารถเขียนเป็นโค้ดโปรแกรมได้ดังนี้





เนื้อหาจากการประชุมครั้งที่ 4

โจทย์ 1 inverse matrix
- ประกาศฟังก์ชั่น void (ไม่ส่งค่ากลับ) เก็บตัวแปรชนิด float 4 ตัว
- รับค่าเมตริก 2*2
- ส่งค่า a11,a12,a21,a22 ไปให้ฟังก์ชั่นคำนวณ
- ที่ฟังก์ชั่น ประกาศตัวแปรเพิ่ม (c) เพื่อหา det a แล้วนำมาหาร a11,a12,a21,a22
จะได้ invers matrix ของ a จากนั้นแสดงค่าที่ได้


โจทย์ 2 แปลงพิกัดฉากเป็นพิกัดเชิงขั้ว แล้วนำค่าพิกัดเชิงขั้วที่ได้แปลงเป็นพิกัดฉาก
- เพิ่ม #include
- ประกาศฟังก์ชั่น cart2pol แปลงพิกัดฉาก -> เชิงขั้ว เก็บตัวแปรชนิด double 2ตัว
- ประกาศฟังก์ชั่น plo2cart แปลงเชิงขั้ว -> พิกัดฉาก เก็บตัวแปรชนิด double 2ตัว
- รับค่า x,y จากแป้นพิมพ์ จากนั้นส่งไปฟังก์ชั่น cart2pol จะได้ค่า r,theta (ประกาศเพิ่มในฟังก์ชั่น)
- ส่งค่า r,theta ไปฟังก์ชั่น pol2cart เพื่อแปลงกลับ



โจทย์ 3 คำนวณหา Molecular Weigth

- ประกาศฟังก์ชั่น CalculateWeightAminoAcid เพื่อเก็บตัวแปรชนิด int 5 ตัว จากนั้นรับค่าจากแป้นพิมพ์ แล้วทำการคำนวณและส่งค่ากลับมาเป็นตัวแปรชนิด float เพื่อแสดงค่าที่ส่งกลับมาในฟังก์ชั่นหลัก

7.19.2554

การประชุมแผนการเตรียมสอบ Midterm วิชา Computer Programming ครั้งที่4

การประชุมครั้งที่ 4 ของกลุ่ม 2 SEC D




โดยการประชุมนั้นประกอบด้วย

นายอาภากร กัณหา
นางสาวหัสรา วัจนะรัตน์
นางสาวพรทิพย์ ทาบุตร
นายประวีร์ แสงทอง (หัวหน้าการประชุม)
นายศราวุฒิ คำเมือง
นายเบญจพล ศรีสันติธรรม
นายปลวัชร เปรมสิริอำไพ
นายวีรศักดิ์ ดังชนกนันท์
นายธน สุทธิธรรม
นายอานนท์ มากเจริญ

- การประชุมครั้งนี้ เป็นการพูดคุยปรึกษาทำโจทย์เกี่ยวกับ lab 2
- ประชุมกันที่ตึก 40 ปี ชั้น 8 เวลา 10.45-11.30 น.

7.13.2554

เนื้อหาจากการประชุมครั้งที่ 3

เรื่อง ฟังก์ชัน (Function)

คือ ชุดคำสั่งที่รวมกันเป็นโปรแกรมย่อยๆ ภายในเครื่องหมาย {} ถูกสร้างขึ้นมาเพื่อทำงานอย่างใดอย่างหนึ่ง และการตั้งชื่อของฟังก์ชันเพื่อให้สะดวกต่อการเรียกใช้งาน ตามกฎการตั้งชื่อโดยมีรูปแบบการเรียกใช้งานแตกต่างกันคือ จะมีการรับหรือไม่รับข้อมูลจากโปรแกรมที่เรียกใช้งานและจะมีการส่งและไม่ส่งค่าข้อมูลออกจากฟังก์ชัน ซึ่งรูปแบบการใช้งานต่างๆของฟังก์ชันจะขึ้นอยู่กับหน้าที่และเป้าหมายการทำงานของฟังก์ชันนั้นๆ
ฟังก์ชันที่สร้างขึ้นเอง
เป็นฟังก์ชันที่ที่ผู้อ่านเขียนโค้ดสร้างฟังก์ชันขึ้นมาใช้งานเองตามรูปแบบการสร้างฟังก์ชันขิงภาษาซี เพื่อให้ทำงานอย่างใดอย่างหนึ่ง ซึ่งสามารถแบ่งการสร้างฟังก์ชันได้ 4 รูปแบบ คือ


1. ฟังก์ชันที่ไม่มีการคืนค่ากลับ และไม่มีการรับค่าพารามิเตอร์
เป็นฟังก์ชันที่สร้างขึ้นมาโดยไม่มีการรับค่าข้อมูล(พารามิเตอร์)ใดๆ จากฟังก์ชันที่เรียกใช้งาน และเมื่อฟังก์ชันทำงานเสร็จจะไม่มีการคืนค่าข้อมูลใดๆกลับไปให้ฟังก์ชันที่เรียกใช้งานซึ่งมีรูปแบบการสร้างรหัสดังนี้

void functionName (void)
{
Statements;
}


โดยที่ functionName เป็นชื่อฟังก์ชันที่ต้องการสร้าง

statement เป็นชุดคำสั่งภายในฟังก์ชัน


2. ฟังก์ชันที่ไม่มีการคืนค่ากลับ แต่มีการรับค่าพารามิเตอร์

เป็นฟังก์ชันที่สร้างขึ้นโดยมีการรับค่าข้อมูล(พารามิเตอร์) จากฟังก์ชันที่เรียกใช้งาน และเมื่อฟังก์ชันทำงานเสร็จจะไม่มีการคืนค่าข้อมูลใดๆ กลับไปให้ฟังก์ชันที่เรียกใช้งานซึ่งมีรูปแบบการสร้างฟังก์ชันดังนนี้


void functionName (typeParameter_1 varName,……., typeParameter_n varName_n)
{
Statements;
}


โดยที่ functionName เป็นชื่อฟังก์ชันที่ต้องการสร้าง
typeParameter_n เป็นชนิดข้อมูลที่ต้องการรับจากฟังก์ชันที่เรียกใช้งาน
varName_n เป็นชื่อตัวแปรที่ใช้รับข้อมูลจากฟังก์ชันที่เรียกใช้งาน
statements เป็นชุดคำสั่งภายในฟังก์ชัน


3. ฟังก์ชันที่มีการคืนค่ากลับ แต่ไม่มีการรับค่าพารามิเตอร์
เป็นฟังก์ชันที่สร้างขึ้นมาโดยไม่มีการรับข้อมูล(พารามิเตอร์)ใดๆ จากฟังก์ชันที่เรียกใช้งาน และเมื่อฟังก์ชันทำงานเสร็จจะมีการคืนค่าข้อมูลกลับไปให้ฟังก์ชันที่เรียกใช้งานซึ่งมีรูปแบบการสร้างฟังก์ชันดังนี้


typeReturn functionName (void)
{
statements ;
return varNameReturn;
}

โดยที่
functionName เป็นชื่อฟังก์ชันที่ต้องการสร้าง
typeReturn เป็นชนิดข้อมูลที่ต้องการคืนค่ากลับให้ฟังก์ชันที่เรียกใช้งาน
varNameReturn เป็นชื่อตัวแปรที่คืนค่ากลับให้ฟังก์ชันที่เรียกใช้งาน ซึ่งมีชนิด ข้อมูลเดียวกันกับ typeReturn
statements
เป็นชุดคำสั่งภายในฟังก์ชัน


4. ฟังก์ชันที่มีการคืนค่ากลับ และมีการรับค่าพารามิเตอร์
เป็นฟังก์ชันที่สร้างขึ้นโดยมีการรับข้อมูล(พารามิเตอร์) จากฟังก์ชันที่เรียกใช้งาน และเมื่อฟังก์ชันทำงานเสร็จจะมีการคืนค่าข้อมูลกลับไปให้ฟังก์ชันที่เรียกใช้งานซึ่งมีรูปแบบการสร้างฟังก์ชันดังนี้


typeReturn functionName (typeParameter_1 varName_1,….., typeParameter_n varName_n)

{
statements;

return varNameReturn;

}


โดยที่ functionName เป็นชื่อฟังก์ชันที่ต้องการสร้าง
typeParameter _n เป็นชนิดข้อมูลที่ต้องการรับจากฟังก์ชันที่เรียกใช้งาน
varName_n เป็นชื่อตัวแปรที่ใช้รับข้อมูลจากฟังก์ชันที่เรียกใช้งาน
typeReturn เป็นชนิดข้อมูลที่ต้องการคืนค่ากลับให้ฟังก์ชันที่เรียกใช้งาน
statements เป็นชุดคำสั่งภายในฟังก์ชัน
varNameReturn เป็นชื่อตัวแปรที่คืนค่ากลับมาให้ฟังก์ชันที่เรียกใช้งาน ซึ่งมีชนิดข้อมูลเดียวกันกับtypeReturn





ตัวอย่างโปรแกรม
หาค่าตัวเลขน้อยที่สุด

#include"stdio.h"
int checkMin(int num
1, int num2);
main()

{
int A=
5,B=8;

printf("Data A= %d, B= %d\n",A,B);
printf("Check min is %d\n",checkMin(A,B));

}

int checkMin(int num1, int num2)

{

int minValue;

if(num1<=num2)

{

minValue = num1;

}

else

{

minValue = num2;

}

return minValue;

}

แสดงผล

Data A=5, B=8

Check min is 5


=====================================================================






การประชุมแผนการเตรียมสอบ Midterm วิชา Computer Programming ครั้งที่ 3

การประชุมครั้งที่ 3 ของกลุ่ม 2 section D





โดยการประชุมนั้นประกอบด้วย

นายอาภากร กัณหา
นางสาวหัสรา วัจนะรัตน์
นางสาวพรทิพย์ ทาบุตร
นายประวีร์ แสงทอง
นายศราวุฒิ คำเมือง
นายเบญจพล ศรีสันติธรรม
นายปลวัชร เปรมสิริอำไพ
นายวีรศักดิ์ ดังชนกนันท์ (หัวหน้าการประชุม)
นายธน สุทธิธรรม
นายอานนท์ มากเจริญ

ซึ่งการประชุมครั้งนี้ นัดกันประชุมเกี่ยวกับเรื่องของฟังก์ชัน ซึ่ง เป็นเนื้อหาของ lab ครั้งที่ 2 จัดการประชุมนัดหมายกันที่ 81-601 เปลี่ยน สถานที่จากที่ตึก 40 ปี ชั้น 8 วันจันทร์ที่ 4 ก.ค. 54 เวลา 09:00-11:00 น.

เนื้อหาจากการประชุมครั้งที่ 2


1.รายละเอียดใบงาน lab0และเนื้อหาเสริม

ในใบงานนี้จะเป็นการเริ่มต้นรู้จักกับการเขียนโปรแกรมภาษาซี ด้วยโปรแกรม CodeBlock 10.5
ซึ่งจะเรียนรู้ถึง โครงสร้างและคำสั่งพื้นฐานโปรแกรม,การ run และ Compile โปรแกรม
ในการทำนั้นจะเริ่มจากการใช้คำลั่ง printf เหมือนในเนื้อหาข้างต้นของ blog นี้จากการประชุมครั้งแรก ในโครงสร้างการเขียนนั้นจะประกอบไปด้วย 5 ส่วนดังนี้
1.1 ส่วนหัวของโปรแกรม เช่น #include,#define เป็นต้น

1.2 ส่วนของการประกาศ เป็นส่วนที่ใช้ประกาศฟังก์ชั่นหรือตัวแปรที่ต้องใช้ในโปรแกรม ทุกๆส่วนจะต้องถูกเรียกใช้ข้อมูลที่ประกาศไว้ในส่วนนี้ได้

1.3 ส่วนของฟังก์ชั่นหลัก ส่วนนี้ทุกโปรแกรมต้องมี ประกอบด้วยประโยคคำสั่งต่างๆที่จะทำให้โปรแกมทำงานโดยคำสั่งต่างๆมาเรียงต่อกันเช่น main() ตามด้วยเครื่องหมาย {}

1.4 ส่วนของการสร้างฟังก์ชั่นและการใช้ฟังก์ชั่น ส่วนที่ใช้เครื่องหมาย {} เป็นการเขียนคำสั่งและฟังก์ชั่นต่างๆ ภายในโปรแกรมโดยค่าต่างๆของโปรแกรมต้องอยู่ใน {} เสมอ

1.5 ส่วนของการอธิบายโปรแกรม ส่วนนี้ใช้บรรยายอธิบายการทำงานของโปรแกรมในแต่ละส่วน


2.รายละเอียดใบงาน lab1และเนื้อหาเสริม

การประชุมแผนการเตรียมสอบ Midterm วิชา Computer Programming ครั้งที่ 2

สวัสดีครับ การประชุมครั้งนี้พวกเรากลุ่มที่ 2 ภาควิชาวิศวกรรมไฟฟ้า กลุ่ม D S.2




พวกเราขอเสนอประชุมการเตรียมสอบ Midterm วิชา Computer Programming
กำกับการประชุมครั้งที่ 2 โดย
นายอาภากร กัณหา <ลาป่วย>
นางสาวหัสรา วัจนะรัตน์
นางสาวพรทิพย์ ทาบุตร
นายประวีร์ แสงทอง
นายศราวุฒิ คำเมือง <หัวหน้าการประชุมครั้งที่ 2>
นายเบญจพล ศรีสันติธรรม
นายปลวัชร เปรมสิริอำไพ
นายวีรศักดิ์ ดังนันท์
นายธน สุทธิธรรม
นายอานนท์ มากเจริญ

นี้เป็นเนื้อหาในส่วนของการทำใบงาน lab0 - lab1
ซึ่ง ในการประชุมครั้งพวกเรามากันทั้งหมด 9 คนเนื่องจาก นายอาภากร กัณหา ลาป่วยด้วยอาการปวดหัวและเป็นไข้ไม่สามารถมาประชุมได้
จากนั้นเมื่อพวกเราประชุมเสร็จแล้วพวกเราก็ได้ร่วมเสนอแนะและทำกใบงาน lab0 - lab1 ที่เคยทำมาแล้วมาทบทวนและทดลองทำกันทุกคนพร้อมนำ Notebook มาทดลองโปรแกรมอย่างครบครัน
พวกเราได้ทำการประชุมเมื่อวันที่ 1 กรกฎาคม 2554 ณ ห้องเรียน 901 อาคาร 88 ชั้น 9 เวลา 12.00 น.- 13.00 น.